“พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า”

swe01พระพุทธศาสนาในพม่านั้น ชาวพม่ามีความเชื่อว่า พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนา ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วย และชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ทางตอนใต้ของพม่า 
          หม่องทินอ่องนักประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้ว่า “พระเจ้าอโศกทรงส่งสมณทูตไปยังดินแดนที่ห่างไกลหลายแห่งด้วยกัน สมณทูตคณะหนึ่งไปเผแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ประชาชนในสุวรรณภูมิ เมืองหลวงของสุวรรณภูมิคือเมืองสะเทิม(Thaton)ในพม่าตอนล่าง (หม่องทินอ่อง(เพ็ชรี สุมิตร แปล),ประวัติศาสตร์พม่า,(พิมพ์ครั้งที่สาม)กรุงเทพฯ:มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย,2551,หน้า 6)

ในขณะที่ประวัติศาสตร์ไทยเชื่อกันว่าจุดศูนย์กลางของสุวรรณภูมิอยู่ที่นครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆเช่นพระปฐมเจดีย์ เป็นประจักษ์พยาน (สุชาติ หงษา ดร.,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา,กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,2549,หน้า 74) 
          นักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านมีความเชื่อสอดคล้องนักนักประวัติศาสตร์พม่า โดยได้บันทึกไว้ว่า “พระเจ้าอโศกได้ส่งสมณทูตเก้าสายไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา  พระโสณะและพระอุตตระไปสุวรรณภูมิคือบริเวณเมืองสะเทิมของพม่าและเมืองไทยตลอดแหลมมลายู ในคัมภีร์มหาวงศ์ของลังการะบุว่าสุวรรณภูมิประเทศอยู่ห่างจากลังกา 700 โยชน์ (อาทร  จันทวิมล ดร.,ประวัติของแผ่นดินไทย,กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อักษรไทย,2548, หน้า 55)
          เรื่องของแคว้นสุวรรณภูมินักประวัติศาสตร์ยังคงต้องหาหลักฐานเพื่ออ้างอิงกันต่อไป แต่สำหรับประเทศไทยได้ยึดสิทธิสุวรรณภูมิไว้เรียบร้อยแล้วนั่นคือการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ชาวโลกจึงรู้จักกันดีแล้วว่าสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ในประเทศไทย

พระเจ้าอโนรธาสร้างชาติพม่า
          จากประวัติศาสตร์บางตอนพบว่า พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในพม่าในราว พุทธศตวรรษที่ 6 เพราะ ได้พบหลักฐานเป็นคำจารึกภาษาบาลี นักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง ชื่อว่า ตารนาถ เห็นว่า พระพุทธศาสนาแบบเถรวาทได้เข้ามาสู่เมือง พม่า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาได้มีพระสงฆ์ฝ่ายมหายานซึ่งเป็นศิษย์ของพระวสุพันธุ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระ เข้าไปเผยแผ่ ในครั้งนั้น พม่ามีเมืองพุกามเป็นเมืองหลวง มีชื่อเรียกชาวพม่าว่า “มรัมมะ” ส่วนพวกมอญ หรือ ตะเลง ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อ “สะเทิม” (สุธรรมวดี) และถิ่นใกล้เคียงรวมๆ เรียกว่า รามัญประกาศ จนพระพุทธศาสนาทั้งแบบมหายาน และแบบเถรวาทเจริญรุ่งเรืองในพม่า เป็นเวลาหลายร้อยปี   (วิรัช นิยมธรรม,ประวัติพระพุทธศาสนาในพม่า)
          พงศาวดารพม่าและตำนานพุทธศาสนาเถรวาทกล่างอ้างว่า พ่อค้ามอญสองนายจากบริเวณพม่าตอนล่างได้เส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้านำมาประดิษฐานไว้ในวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ต่อมาเป็นที่สร้างเจดีย์พระเกศธาตุ(ชเวดากอง) อันมโหฬาร (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า, หน้า 6)
          ในประวัติศาสตร์พม่าพระเจ้าอโนรธาเป็นปฐมกษัตริย์ มีกล่าวถึงทั้งในจารึก พงศาวดารพม่า และตำนาน สำหรับในพงศาวดารนั้นมีเรื่องราวบางส่วนเขียนเป็นปรัมปรา โดยให้ภาพของพระเจ้าอโนรธาเยี่ยงบุคคลในตำนาน  อาทิ การช่วงชิงบัลลังก์ด้วยการกระทำอัศวยุทธ์จนชนะเพราะพระอินทร์อุปถัมภ์ การสังหารทารกและหญิงมีครรภ์เพื่อกำจัดผู้มีบุญที่จะมาแย่งราชบัลลังก์ ปาฏิหาริย์ในการแสวงหาพระเขี้ยวแก้วยังเมืองจีนและลังกาทวีป การทำลายอำนาจวิเศษที่ปกป้องเมืองสะเทิม และการจบชีวิตของพระเจ้าอโนรธาเพียงเพราะถูกกระบือขวิด เป็นอาทิ ประวัติของปฐมกษัตริย์พม่านั้นบรรยาไว้โดยสรุปว่า “อโนรธาเป็นราชโอรสแห่งกษัตริย์พุกาม นามว่า กวมส่องจ่องผยู หลังจากที่อโนรธามีชัยต่อเจ้าสุกกะเตเชษฐาต่างมารดาผู้แย่งบัลลังก์จากพระบิดาได้แล้ว พระองค์จึงมอบบัลลังก์นั้นคืนพระบิดาซึ่งทรงผนวชอยู่ เมื่อพระบิดามิทรงรับ อโนรธาจึงเสวยราชบัลลังก์ แต่ด้วยพม่าถือว่าพระเจ้าอโนรธาคือผู้เปิดหน้าประวัติศาสตร์พม่า ดังนั้นเนื้อหาที่ปรากฏเป็นประวัติศาสตร์ชาติจึงละส่วนที่เป็นปรัมปราออกไป คงไว้แต่เกร็ดทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับตีความด้วยศรัทธา เพื่อเทิดเกียรติวีรกรรมและยกย่องความสามารถของพระองค์  วีรกรรมสำคัญของพระเจ้าอโนรธา คือ การสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร และการส่งเสริมพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท 

ตปุสสะและภัลลิกะคือพ่อค้าชาวมอญจริงหรือ
          มอญสองพี่น้องนั้นมีชื่อจารึกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาคือตปุสสะและภัลลิกะ ชาวอุกกลชนบท ในพระวินัยปิฎก มหาวรรค (4/6/8) กล่าวถึงพ่อค้าสองพี่น้องไว้ว่า “ครั้นล่วง 7 วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้น แล้วเสด็จจากควงไม้มุจจลินท์ เข้าไปยังต้นไม้ราชายตนะ แล้วประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้ราชายตนะ ตลอด 7 วัน สมัยนั้น พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะเดินทางไกลจากอุกกลชนบท ถึงตำบลนั้น ครั้งนั้นเทพยดาผู้เป็นญาติสาโลหิตของตปุสสะ ภัลลิกะสอง พ่อค้า ได้กล่าวคำนี้กะ 2 พ่อค้านั้นว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ท่านทั้งสองจงไปบูชาพระผู้มีพระภาคนั้น ด้วยสัตตุผง และ สัตตุก้อน การบูชาของท่านทั้งสองนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน  พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะจึงถือสัตตุผงและสัตตุก้อนเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วถวายบังคม ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  สองพ่อค้านั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงสัตตุก้อนของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสอง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนาน 

ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงปริวิตกว่า พระตถาคตทั้งหลาย ไม่รับวัตถุด้วยมือ เราจะพึงรับสัตตุผง และสัตตุก้อนด้วยอะไรหนอ  ขณะนั้น ท้าวมหาราชทั้ง 4 องค์ทรงทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาค ด้วยใจของตนแล้ว เสด็จมาจาก 4 ทิศ ทรงนำบาตรที่สำเร็จด้วยศิลา 4 ใบเข้าไปถวายพระผู้มี พระภาคกราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงรับสัตตุผงและสัตตุก้อนด้วยบาตรนี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงใช้บาตรสำเร็จด้วยศิลาอันใหม่เอี่ยม รับสัตตุผงและสัตตุก้อนแล้วเสวย 
          ครั้งนั้น พ่อค้าตปุสสะและภัลลิกะ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองว่าเป็นอุบาสกผู้มอบชีวิตถึงสรณะ จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ก็นายพาณิชสองคนนั้น ได้เป็นอุบาสกกล่าวอ้างสองรัตนะ เป็นชุดแรกในโลก 
          swe02ในพระไตรปิฎกไม่ได้บันทึกไว้ว่าพ่อค้าทั้งสองได้รับเส้นพระเกศาจาพระพุทธเจ้า แต่ในอรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค หน้า 29 มีบันทึกไว้ว่า “สองพานิชนั้นครั้นประกาศความเป็นอุบายสกอย่างนั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพระองค์พึงทำการอภิวาทและยืนรับใครเล่าพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลูบพระเศียร  พระเกศาติดพระหัตถ์ ได้ประทานพระเกศาเหล่านั้นแก่เขาทั้งสองด้วยตรัสว่าท่านจงรักษาผมเหล่านี้ไว้  สองพานิชนั้นได้พระเกศธาตุราวกะได้อภิเษกด้วยอมตธรรม รื่นเริงยินดีถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป  (อรรถกถา วินัยมหาวรรค,หน้า 29)
          พ่อค้าสองพี่น้องเป็นชาวอุกกลชนบท ไม่ทราบว่าคือเมืองใด อุกกาตามศัพท์ภาษาบาลีแปลว่าประทีป คบเพลิง โคม ตะเกียง หรืออาจหมายรวมถึงพระอาทิตย์ แสงสว่าง หากจะหมายถึงดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกในยุคนั้น ก็น่าจะได้แก่พม่าตอนล่างในปัจจุบัน  เรื่องอุกกลชนบทฝากให้นักปราชญ์ผู้รู้ไว้พิจารณา

พระชินอรหันต์พระเถรวาทร่วมสร้างชาติ
          ในส่วนของมอญนั้นพระภิกษุมอญมีส่วนในการสร้างอาณาจักรพม่าในยุคแรก ดังที่หนังสือประวัติศาสตร์พม่าบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า “ในพุทธศักราช 1587 (ค.ศ. 1044) พระเจ้าอนุรทธะขึ้นครองราชย์ที่กรุงพุกามซึ่งตั้งอยู่ตรงใต้จุดบรรจบของแม่น้ำอิระวดีกับแม่น้ำซินต์วิน  พระเจ้าอนุรุทธะไม่ทรงพอพระทัยในศาสนาที่ประชาชนนับถืออยู่ในขณะนั้นซึ่งเป็นศาสนาที่มีส่วนผสมปนเปของหลักพระพุทธศาสนานิกายมหายานกับความเกรงกลัวอำนาจธรรมชาติแบบพื้นเมือง พระองค์ต่อต้านอำนาจและชื่อเสียงของคณะสงฆ์อารีซึ่งพระองค์ไม่เห็นด้วย ในขณะนั้นพระมอญรูปหนึ่งชื่อพระชินอรหันต์ได้เดินทางมายังอาณาจักรพุกาม ท่านเป็นผู้หนึ่งในหมู่ชนจำนวนน้อยที่ไม่นิยมการรับความเชื่อแบบฮินดูที่เมืองสะเทิม  ในเวลาไม่นานนักพระชินอรหันต์ก็สามารถชักนำให้พระอนุรุทธะหันมานับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทได้ (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า, หน้า 32)
          เมื่อขึ้นครองราชย์ประชาชนมีความเชื่อหลากหลาย แต่สงบได้เพราะพระพุทธศาสนาดังที่อ้างไว้ว่าตอนที่พระเจ้าอโนรธายังมิได้ขึ้นครองบัลลังก์นั้น ในเมืองพุกามยังมีความเชื่อถืออันผิดๆ อาทิ นัต นาค และอะเยจี โดยเฉพาะความเชื่อถือแบบพวกอะเยจีก็กำลังครอบงำแผ่นดินพุกามอยู่ขณะนั้น  เมื่อพระเจ้า อโนรธาขึ้นครองบัลลังก์พระองค์มิทรงพอพระทัยต่อลัทธิความเชื่อเช่นนั้น และทรงปรารถนาในศาสนาอันชอบ ในเพลาเดียวกันนั้น ชินอรหันต์ได้เดินทางจาริกจากเมืองสะเทิมมาแผ่พระศาสนายังเมืองพุกาม พอพระเจ้าอโนรธาได้โอกาสนอบนบต่อชินอรหันต์ พระองค์ก็ทรงมีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงขอร้องให้ชินอรหันต์เผยแผ่พระศาสนาในพุกาม และด้วยความช่วยเหลือของชินอรหันต์ พระเจ้าอโนรธาจึงสามารถกำจัดความเชื่อของเหล่าอะเยจีลงได้ พวกอะเยจีถูกจับสึก แล้วให้คนเหล่านั้นรับใช้ในงานอันควรแก่อาณาจักรต่อไป ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อถือแบบอะเยจีจึงค่อยๆหมดไปจากพุกาม พระเจ้าอโนรธาทำให้ชนทั่วแผ่นดินพุกามหันมานับถือพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอันชอบ” การรวมชาติโดยผนึกความเชื่อต่างๆให้เข้าเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันได้นั้น หากไม่มีความเชื่อใหม่คือพระพุทธศาสนาก็ยากที่จะรวมชาติได้ 

นอกจากนี้ พระเจ้าอโนรธายังได้ยกทัพไปตีได้เมืองสะเทิม พร้อมกับอันเชิญพระไตรปิฎกและพระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระคำภีร์มาสู่พุกาม พระเถระชาวมอญซึ่งชำนาญในคำภีร์ได้ช่วยชินอรหันต์เป็นอย่างมากเพื่อให้พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอันชอบเป็นที่แพร่หลาย พระเจ้าอโนรธามิเพียงสร้างพระเจดีย์ในพุกามแต่ยังทรงสร้างเจดีย์ในทุกที่ที่เสด็จไปถึง ในบรรดาเจดีย์เหล่านี้ เจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดคือพระเจดีย์ชเวสิกอง
          ในการที่จะให้พุทธศาสนาแพร่หลาย พระเจ้าอโนรธายังทรงให้มีการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกกันในวัด  พุทธศาสนาที่พระเจ้าอโนรธาได้ทรงอุปถัมภ์นั้นยังมั่นคงมาได้จวบจนปัจจุบัน” ในการนำพุทธศาสนาจากแผ่นดินของชาวมอญสู่พุกามนั้น พม่ายกย่องชินอรหันต์ภิกษุมอญเป็นดุจผู้ส่องไฟนำทาง และพระเจ้าอโนรธาเป็นดุจผู้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธศาสนาบนแผ่นดินเมียนมา ส่วนเหล่าอะเยจีนั้นถูกตีตราให้เป็นพวกมิจฉาทิฐิ โดยประณามว่าเป็นกลุ่มนักบวชที่แผ่อิทธิพลเหนือชาวบ้านด้วยการเอานรกมาขู่ ยกสวรรค์มาอ้าง และหากินกับลาภสักการะ การนำพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทอันเป็นศาสนาอันชอบมาสู่อาณาจักรของชาวเมียนมานั้น จึงถือเป็นการทำลายอำนาจมืดจากความเชื่อผิดๆ ภาพของพระเจ้าอโนรธาในแบบเรียนจึงเป็นภาพของนักปฏิวัติทางความคิดเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมของชาวพุทธ
          ภาพของพระเจ้าอโนรธาเป็นแบบอย่างของผู้นำในการสร้างชาติด้วยพลังแห่งเอกภาพและการพัฒนา ดูจะสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของกองทัพพม่านับแต่สมัยสังคมนิยมสืบจนปัจจุบัน อาทิการยกย่องบทบาทของทหารในฐานะผู้นำในการสร้างชาติเอกราชเยี่ยงวีรชน การปราบปรามภัยภายใน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การพัฒนาเส้นทางการคมนาคม การส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนา และการบูรณะเจดีย์ทั่วประเทศ เป็นต้น พระเจ้าอโนรธาจึงได้รับการขัดเกลาทางประวัติศาสตร์ให้มีภาพลักษณ์ของวีรกษัตริย์ชาวพุทธ เป็นผู้สร้างประเทศ และเป็นนักปฏิรูปสังคมที่ชาญฉลาด (วิรัช  นิยมธรรม ,ประวัติศาสตร์พม่า)
          ทุกหนทุกแห่งที่พระเจ้าอนุรทธะทรงได้ชัยชนะในการสงคราม แทนที่พระองค์จะสร้างเสาหินแห่งชัยชนะไว้ กลับสร้างแผ่นอิฐจารึกบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีหรือสันสกฤต และพระนามาภิไธยเป็นภาษาสันสกฤต ทั้งทรงเป็นพระองค์แรกในบรรดาผู้สร้างโบสถ์วิหารอันยิ่งใหญ่และทำให้กรุงพุกามกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษานิกายเถรวาท (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 37)
          ความมั่งคั่งอันมากมายในอาณาจักรพุกามใช้สร้างวัดนับไม่ถ้วนในกรุงพุกาม ยังมีปรากฏในปัจจุบันนี้ประมาณห้าพันวัด  ส่วนเจดีย์ในพุกามมีสองประเภทใหญ่ๆคือแบบสถูปตันและแบบกลวงกลมหรือถ้ำจำลอง เจดีย์ใหญ่อันดับแรกคือเจดีย์ชเวสิกองของพระเจ้าอนุรุทธะมีลักษณะเป็นรูปปิรามิด มีฉัตรทองกั้นอีกชั้นหนึ่ง ทั่วทั้งเจดีย์ปิดทองและมีมณีมีค่าประดับฉัตรบนยอดเจดีย์ (หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า,หน้า 57)
          จากยุคของพระเจ้าอโนรธาเป้นต้นมา พระมหากษัตริย์ของพม่าองค์ต่อๆมาทรงให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาดังที่หม่องทินอ่องบอกว่า “พระเจ้ามินดุงโปรดให้จารึกพระไตรปิฎกทั้งชุดรวมทั้งคำอธิบายลงบนเสาหินกว่า 5,000 ต้น  และทรงสนับสนุนพระสงฆ์ผู้เคร่งวินัยให้อพยพไปพม่าตอนล่าง(หม่องทินอ่อง,ประวัติศาสตร์พม่า, หน้า 244) 
          พระภิกษุบางรูปเคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นกษัตริย์ครองราชย์บัลลังก์ ดังเช่นพระเจ้าธรรมเจดีย์ เมื่อพระนางเชงสอบูทรงเลือกบาตรใหญ่สองใบ ใบหนึ่งบรรจุอาหารที่สรรแล้วอย่างวิเศษ และอีกใบหนึ่งใส่เครื่องราชอิสริยยศ แล้วพระนางก็ทรงนิมนต์พระอาจารย์ทั้งสองคือพระธรรมเจดีย์และพระธรรมปาละมาบิณฑบาตในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชสำนักที่แต่งเต็มยศอย่างงดงามตระการตายิ่ง พระทั้งสองรูปมาถึงและให้เลือกบาตรคนละใบ พระธรรมเจดีย์เผอิญเลือกได้บาตรที่ใส่เครื่องราชอิสริยยศและได้รับเลือกตั้งเป้นกษัตริย์จึงต้องสึก เพื่ออภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระราชินีและรับราชบัลลังก์(คศ. 1472- 1472) (หม่องทินอ่อง,หน้า 100)

การศึกษาพระปริยัติธรรมในพม่า
          การศึกษาพระปริยัติธรรมในพม่านั้น สมัยพระเจ้ามินดงมีการสอบพระปริยัติธรรมวิชาที่สอบแบ่งเป็นสี่ชั้นคือชั้นต้น ต้องสอบท่องคัมภีร์กัจจายนไวยากรณ์ 8 กัณฑ์ด้วยปากเปล่า อภิธานนัปปทีปิกา 1203 คาถา วุตโตทัยฉันโทปกรณ์ สุโพธาลังการ อภิธรรมมัตถสังคหะ 9 ปริจเฉท มาติกา ธาตุกถา 14 นัย ยมก 5
          ชั้นกลาง สอบท่องปากเปล่าคัมภีร์ในชั้นต้นทั้งหมดโดยเพิ่มยมกเป็น 10 ยมก ชั้นสูง สอบแบบชั้นกลาง แต่เพิ่มคัมภีร์ปัฎฐานแต่ต้นจนจบกุสลติกะ และชั้นสูงสุดจะต้องสอบแข่งขันกันทั้งหมดเพื่อให้ได้ที่ 1 เพียงรูปเดียว จากนั้นพระเจ้ามินดงจะทรงอุปถัมภ์เป็นพระราชบุตร บิดามารดาพร้อมทั้งญาติถึง 15 ชั้นได้รับการงดเว้นภาษีทุกด้าน (พระธัมมานันทมหาเถระ,การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า,กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย:2534,หน้า 264)

ในงานวิจัยของโรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์ อ้างว่า “ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19  ทรงใช้วิธีการสอบแบบสงฆ์ที่เรียกว่า “พระธรรมพยาน” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสามารถของพระสงฆ์ มาทดสอบความเหมาะสมในการเข้าดำรงตำแหน่งราชการ(โรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์(พรรณงาม เง่าธรรมสาร แปล),รัฐในพม่า,มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย,2550,หน้า 42) การสอบของพระสงฆ์คงเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือจนกษัตริย์ต้องนำเอาวิธีการสอบไปใช้
          ในสมัยพระเจ้าธีบอได้ยกเลิกการสอบชั้นสูงสุด การศึกษาพระปริยัติธรรมของพม่ามีมาตรการ 4 ข้อคือ 1.ทำให้วัตรปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรดีงาม 2.ทำให้มีการศึกษาพระไตรปิฎกอย่างถี่ถ้วน 3.ทำให้เกิดความแตกฉานและเชี่ยวชาญในภาษาบาลี 4.ทำให้เข้าใจวิธีการใช้ภาษาและสามารถเขียนบทประพันธ์ด้วยตนเองได้  ในการสอบยังมีการสอบปิฎกธระหรือพระภิกษุที่สามารถทรงจำพระไตรปิฎกได้ ผู้สอบผ่านจะมีนามพิเศษว่า “เตปิฎกธรธรรมภัณฑาคาริกะ” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2534) ประเทศพม่าได้มีพระทรงจำพระไตรปิฎกจำนวน 5 รูปคือพระภัททันตวิจิตนสาราภิวังสะ,พระภัททันตเนมินทะ,พระภัททันตโกสัลละ,พระภัททันตสุมังคลาลังการะและพระภัททันตสิรินทาภิวังสะ (พระธัมมานันทมหาเถระ,การศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศพม่า,หน้า 284)

การสังคายนาพระไตรปิฎกในพม่า
          ประเทศพม่ามีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกสองครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำร่วมกันของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทดังหลักฐานบันทึกไว้ว่า “ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้มีเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในพม่าร่วมกัน คือการสังคายนาพระไตรปิฎก ณ เมืองมัณฑะเล เมื่อ พ.ศ. 2414   เป็นการสังคายนาครั้งแรกในพม่า แต่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 5 ต่อจากครั้งจารึกลงในใบลานของลังกา สังคายนาครั้งนี้ มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน 429 แผ่น ณ เมืองมันฑะเล ด้วยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง ใน พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) พระมหาเถระ 3 รูป คือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิธชะ และพระสุมังคลสามี ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานโดยลำดับ มีพระสงฆ์และพระอาจารย์ผู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมร่วมประชุม 2,400 ท่าน กระทำอยู่ 5 เดือนจึงสำเร็จ (สุชีพ  ปุญญานุภาพ,พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน,กรุงเทพ ฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย,2539, หน้า 11)
ส่วนการทำสังคายนาครั้งที่ 2 ในพม่าหรือที่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 6 ที่เรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 เป็นอันปิดงาน ในการปิดงานได้กระทำร่วมกับการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (การนับปีของพม่าเร็วกว่าไทย 1 ปี จึงเท่ากับเริ่ม พ.ศ. 2498 ปิด พ.ศ. 2500 ตามที่พม่านับ) พม่าทำสังคายนาครั้งนี้ มุ่งพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นข้อแรก แล้วจะจัดพิมพ์อรรถกถา (คำอธิบายพระไตรปิฎก) และคำแปลเป็นภาษาพม่าโดยลำดับ มีการโฆษณาและเชิญชวนพุทธศาสนิกชนหลายประเทศไปร่วมพิธีด้วย โดยเฉพาะประเทศเถรวาท คือ พม่า ลังกา ไทย ลาว เขมร ทั้งห้าประเทศนี้ ถือว่าสำคัญสำหรับการสังคายนาครั้งนี้มาก เพราะใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีอย่างเดียวกัน จึงได้มีสมัยประชุม ซึ่งประมุขหรือผู้แทนประมุขของทั้งห้าประเทศนี้เป็นหัวหน้า เป็นสมัยของไทยสมัยของลังกา เป็นต้น ได้มีการก่อสร้างคูหาจำลอง ทำด้วยคอนกรีต จุคนได้หลายพันคน มีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า 2,500 ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ 200 ไร่เศษ เมื่อเสร็จแล้วได้แจกจ่ายพระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าไปในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย (สุชีพ  ปุญญานุภาพ,พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน, หน้า 12)
          พระพุทธศาสนาในพม่ามีความเกี่ยวพันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ การเจริญหรือเสื่อมของคณะสงฆ์ก็ย่อมมีส่วนกับสถาบันกษัตริย์ด้วย ดังนั้นกษัตริย์จึงมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือการปฏิรูปสถาบันสงฆ์ดังที่มีการบรรยายถึงการปฏิรูปสถาบันสงฆ์ไว้ว่า “กษัตริย์พม่าได้ทรงริเริ่มการปฏิรูปศาสนา หรือการชำระสถาบันสงฆ์ให้บริสุทธิ์ เพื่อจะได้ยึดทรัพย์สมบัติของทางสงฆ์มาเป็นที่ยอมรับทั้งทางกฎหมายและสังคม สังฆะที่ร่ำรวยย่อมหมายถึงว่าพระสงฆ์ไม่ได้ดำเนินชีวิตตามกฎของพระวินัย ดังนั้นการปฏิรูปจึงนับว่าถูกต้องชอบธรรมตามอุดมการณ์ การปฏิรูปศาสนาส่งผลทางวัตถุให้ขนาดของสังฆะลดลง ทางด้านอุดมการณ์เท่ากับวาทำให้พระศาสนาบริสุทธิ์ขึ้น เมื่อสังฆะบริสุทธิ์ขึ้น ประชาชนต่างก็จะมาทำบุญเพิ่มขึ้น เพราะบุญที่บุคคลจะได้ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของพระที่บุคคลนั้นนับถือ สังฆะเองก็เริ่มได้รับพระมหากรุณาธิคุณเพิ่มขึ้น เพราะโดยหลักการถือว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นผู้ทรงปกป้องและอุปถัมภ์ค้ำจุนพระศาสนา การที่ประชาชนและพระมหากษัตริย์หันมาอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา สุดท้ายจะนำกลับไปสู่ลัทธิเจ้าที่ดินของวัดอีก และแล้วรัฐก็ต้องเข้ามาจัดการปฏิรูปสังฆะใหม่อีกหมุนเวียนไปไม่รู้จบ (โรเบิร์ต เอช เทย์เลอร์(พรรณงาม เง่าธรรมสาร แปล),รัฐในพม่า,มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย,2550,หน้า 70)

พระพุทธศาสนาเถรวาทกับประเทศพม่าจึงมีความผูกพันกันมาอย่างยาวนาน ต้องพานพบกับความเสื่อมและความเจริญ แต่ก็สามารถอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมของพม่าเรื่อยมา มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนการศึกษาพระพุทธศาสนามาโดยตลอด  แม้ว่าปัจจุบันพม่าจะไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนในอดีต แต่คณะสงฆ์พม่าก็ยังมีอิทธิพลสำหรับประชาชน ดังจะเห็นได้จากการเป็นผู้นำในการเดินขบวนเรียกร้องความเป็นธรรมจากอำนาจรัฐ  คณะสงฆ์พม่ายังได้สร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทจากทั่วโลกดังเช่นใน ปีพุทธศักราช 2550 ได้มีการก่อตั้งสมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติขึ้นและได้ประชุมครั้งแรกระหว่างช่วงวันที่ 9-11 มีนาคม 2550 ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า และการประชุมสมาคมฯ ที่เมืองสะกายในครั้งนี้จึงนับเป็นครั้งที่สอง 
          การชุมสมาคมพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชนติครั้งที่สอง ในครั้งนี้คงได้ข้อมูลการศึกษาพระพุทธศาสนาในพม่าและการแต่งคัมภีร์บาลีในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทจากสมาชิกที่มาจากประเทศต่างๆไม่มากก็น้อย จากเอกสารที่พิมพ์แจกในงานมีการเขียนเกี่ยวกับศึกษาภาษาบาลังหลังศตวรรษที่ 19 โดยเขียนเป็นภาษาบาลีอักษรโรมัน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นจะรายงานให้ทราบในตอนต่อไป

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
30/03/52

56 Responses

  1. มีสาระดีชอบมากๆค่ะ

  2. ขอบคุณที่ให้ได้ทำรายงาน

  3. ขอบคุณมากๆค่ะ
    ^^ ได้มีข้อมูลเขียนทำงานส่งครูแล้วว
    คห.2 ??

  4. ขอบคุณมากนะค่ะที่ได้สาระมะมาย”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””

  5. มึนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก

  6. คุณสุทธิดา อุยะตุง เป็นคนวิสัยทัศน์แคบมาก มิน่าล่ะคุณถึงได้งมงายกับพะรอัลเลาะห์ บาปหนาแถมยังโง่อีก นรกแดกแน่ๆเธอ
    เกิดมามืด ตายไปยังจะมืดอีกอ่ะ
    เวรกรรม

  7. พระพุทธศาสนาอยู่ในทุกอณูร่างกายคุณนั่นแหละ
    ตราบใดที่ยังมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย คำสอนของพระพุทธศาสนาก็ยังอยู่คู่จักรวาล
    โลกนี้ไม่มีใครสร้าง พระเจ้าก็ไม่มีอำนาจขนาดนั้น
    เพราะพระเจ้าถูกสร้างมาจากน้ำมือของมนุษย์
    ใครเชื่อก็จะเรียกว่า…โง่..เจงๆ อิอิอิ

  8. ขอบคุญสำหรับขอมูล

  9. สนุกมากเลยครับ

  10. สนุกมากเลยคราบๆๆๆๆๆๆ

  11. มีสาระดีมาก

  12. มีความรู้มากมายเลยนะเนี่ย

  13. ขอบคุณมากๆเลยนะคะ มีสาระมากเลย

  14. ทำไมพวกนอกศาสนาอื่นต้องมาดูถูกศาสนาพุทธของกูด้วย กูไม่อยากพูดคำแรงๆกับพวกมึงซักเท่าไหร่หรอกนะ ไอ้สัด กูถามมึงหน่อยนะไอ้พวกนอกศาสนา ถ้ามีคำถามเขาถามมึงว่า * โลกเกิดขึ้นได้อย่างไร ก.เกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ ข.พระเจ้าของมึงเป็นผู้สร้าง มึงคงไม่โง่ที่จะตอบข้อ ข. หรอกนะ ถ้ามึงตอบข้อ ข. มึงต้องกลับไปเรียนอนุบาล 3 ขวบ ใหม่ ไอ้สัด ไม่งั้นมึงก็ลองไปถามคนบ้าไป คนบ้าเขายังตอบได้เลย ไอสัด

  15. รักศาสนาพุทธที่สุด รายงายนี้มีสาระดี

  16. ไม่มีผู้สร้างโว้ย……………………………………………………………..

  17. เห็นด้วย ไม่มีผู้สร้าง

  18. ดีใจมากๆ ตอนนี้ ประเทสอิตาลี เข้าประกาศใรรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เฮ……….

  19. ไม่ใชแค่อิตาลีนะครับ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่ง อเมริกา แคนาดา รัฐเซีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย ศาสนาพุทธกำลังบูมครับ

  20. แบคแฮ่ม และภรรยา พร้อมลูกอีก 3 คน – บัจโจ นักเตะอิตาลี – แองโจลิน่า โจรี่ – ไทเกอร์ วู๊ด เปลี่ยนมาเป็นพุทธแล้วนะครับ

  21. ในคอมเม้นอื่นมีพวกคริสต์มันด่าศาสนาพุทธของเรายับเลยว่ะ มันเหี้ยจริงๆ อย่างนี้ต้องให้มันกินอาหารหมา ( ขี้ )

  22. พุทธเท่านั้นที่ดีที่สุด

  23. เด็กที่มารยาทดี ส่วนใหญ่เติบโตมาจากศาสนาพุทธ

  24. 2 สามีภรรยาตระกูลเบคแฮม พร้อมลูกชายอีก 3 คน ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในนครลอสแองเจลิสของสหรัฐ ได้พักใหญ่ ๆ แล้ว แหล่งข่าวได้เผยกับนิตยสาร ?ลุค? ในอังกฤษ ว่า ทั้งคู่กลายเป็นชาวแคลิฟอร์เนียเต็มตัว และเดวิด ยังหาลูกปัดนำโชคมาใส่ไว้ที่ข้อมือ

    เดวิด ยังหันมาเรียนโยคะ หลังเขามีอาการเจ็บที่หัวเข่า และที่ชั้นเรียนโยคะนี่เอง ที่ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้หลักธรรมของพุทธศาสนา โดยเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนหนึ่งเป็นผู้แนะนำให้เดวิด รู้จักการสวดมนต์ตามหลักศาสนาพุทธเพื่อช่วยให้จิตใจสงบนิ่ง นับจากนั้น เดวิด และวิคตอเรีย ก็หันมาสวดมนต์นาน 5 นาที ทุกเช้าหลังตื่นนอน และก้าวลงจากเตียงด้วยเท้าขวา เพราะเชื่อว่าจะทำให้โชคดีตลอดทั้งวัน

    แหล่ง ข่าวยังเผยว่า 2 สามีภรรยาคู่นี้ ยังลงทุนจ้างผู้เชี่ยวชาญฮวงจุ้ย มาช่วยปรับเปลี่ยนที่พักอาศัยเพื่อช่วยเรื่องการมีบุตร และเสริมโชคชะตาให้เดวิด กลับมาเป็นนักเตะแข้งทองเช่นเดิม.-สำนักข่าวไทย

  25. อิตาลีได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ยกพระพุทธศาสนาให้เป็นหนึ่งในศาสนาสำคัญของชาติ ไม่ต่างอะไรกับศาสนาคริสต์

  26. ถ้าตามข่าวสารในต่างประเทศ ประจำ ก็จะเห็นว่าคนสนใจพระพุทธศาสนาในออสเตรเลีย, อเมริกา, ฝรั่งเศส และอังกฤษกำลังเพิ่มขึ้นจนเป็นข่าวปกติ รัฐบาลประเทศเหล่านี้ได้เปิดประตูต้อนรับพระธรรมทูตจ ากเอเชียอย่างเต็มที่ เพราะพระสงฆ์เหล่านี้เข้าไปช่วยสอนให้ประชาชนของเขาซ ึ่งกำลังบ้าทุนนิยมอยู่เป็นคนดีขึ้น

  27. อีสุทธิดา อุยะตุง มึงอยากโดนตบหรือไงว่ะ เด๋วกูให้ เด็กบ้านกูไปรุมโทรมมึงหรอก

  28. พุทธเท่านั้น

  29. กูแม่งเกียดอีสุทธิดา อุยะตุง แม่งอยากโดนตบนักหรือไงว่ะ อิสัดนิ เด๋วมึงหาผัวไม่ได้หรอกอิสัด

  30. อิสัด

  31. ทำไมต้องเถียงกนด้วย ก้พุทธทำนายขององค์พระพุทธเจ้าของเรานั้น ไดบังเกิดขึ้นแล้วไม่ช่หรอ พระุพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ในช่วงตอนกลางของพระศาสนาของพระองค์ ก็จะมีเพศภัยร้ายบังเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ อย่างเช่น เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ มากมาย เราเชื่อนะ เพราะว่าพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ได้บอกว่าพระองค์เป็นผู้สร้างโลกใบนี้ขึ้นมา แต่พระองค์ทรงบอกว่า เราทุกคนจงอยู่บนโลกนี้ด้วยความไม่ประมาท มีสติ ซึ่งต่างจาก………อื่นที่บอกว่าเป็นผู้สร้างโลกใบนี้ และทุกสิ่งในโลกใบนี้เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของเขา แต่ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ทำลายโลกใบนี้ไปพร้อมๆกัน

  32. แม่งที่บ้านเราศาสนาคิด แม่งเผยแพร่ศาสนานากวนมากเลยว่ะ ศาสนาเขาดีอยู่หรอก แต่คนแม่งโคดๆ เลยว่ะ คนพุทธยิ้มให้มันนะโว้ย แต่แม่งมันน่าบึ้ง เหมือนพึ่งโดนผัวด่ามาเลยว่ะ 5555 โคดเกียดเลยว่ะ เซ็งเป็ด

  33. พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ใครเชื่อในธรรมะของท่าน จนกว่าจะนำไปปฏิบัติ

  34. มรรคมีองค์ 8 สุดยอดมากๆ

  35. สำรวจล่าสุด จาก 63 ล้านคน ทั่วไทย
    ศาสนาพุทธ 95 % – 56.7 ล้านคน
    ศาสนาอิสลาม 4 % – 5.4 ล้านคน
    คริสต์ ซิก พราหมณ์ ฮินดู 1% – ที่เหลือ

  36. เราได้ทุนคริสต์ เขาจะให้เราเปลื่ยนไปนับถือพระเจ้า เราว่าถ้าจะให้เราไปนับถือ เราขอลาออกจากทุนคริสต์ดีกว่า เพื่อนเราก็ได้ มันบอกว่ามันหรอกเอาตังว่ะ

  37. ทางสายกลาง
    อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ) หนทางสายนี้เรียกว่า “ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ

    ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน

    ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น

    พระ พุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค)

    เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ

    1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า “ตามรู้” (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า”การรู้แจ้งแทงตลอด” (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

    2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)

    3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ

    4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

    5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

    6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

    7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

    8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

    ใน ทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธิการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับ การพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น

    จะ ต้องไม่เข้าใจว่า องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย

  38. อีสุทธิดา อุยะตุง จัดอยู่ในบัวเหล่าไหนว่ะ
    บัว ๔ เหล่า ได้แก่
    ๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

    ๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

    ๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

    ๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ)

  39. พระพุทธเจ้าประสูติมาเพื่อชาวโลก ไม่ได้ประสูติมาเพื่อหลอกลวงชาวโลก
    นี่คือคำสาบาล 22 ข้อ ของพวกจัณฑาลหลังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธแล้ว
    1) I shall have no faith in Brahma, Vishnu and Mahesh nor shall I worship them.
    2) I shall have no faith in Rama and Krishna who are believed to be incarnation of God nor shall I worship them.
    3) I shall have no faith in ‘Gauri’, Ganapati and other gods and goddesses of Hindus nor shall I worship them.
    4) I do not believe in the incarnation of God.
    5) I do not and shall not believe that Lord Buddha was the incarnation of Vishnu. I believe this to be sheer madness and false propaganda.
    6) I shall not perform ‘Shraddha’ nor shall I give ‘pind-dan’.
    7) I shall not act in a manner violating the principles and teachings of the Buddha.
    8) I shall not allow any ceremonies to be performed by Brahmins.
    9) I shall believe in the equality of man.
    10) I shall endeavor to establish equality.
    11) I shall follow the ‘noble eightfold path’ of the Buddha.
    12) I shall follow the ten ‘paramitas’ prescribed by the Buddha.
    13) I shall have compassion and loving kindness for all living beings and protect them.
    14) I shall not steal.
    15) I shall not tell lies.
    16) I shall not commit carnal sins.
    17) I shall not take intoxicants like liquor, drugs etc.
    18) I shall endeavor to follow the noble eightfold path and practice compassion and loving kindness in every day life.
    19) I renounce Hinduism, which is harmful for humanity and impedes the advancement and development of humanity because it is based on inequality, and adopt Buddhism as my religion.
    20) I firmly believe the Dhamma of the Buddha is the only true religion.
    21) I believe that I am having a re-birth.
    22) I solemnly declare and affirm that I shall hereafter lead my life according to the principles and teachings of the Buddha and his Dhamma

    อนุโมทนาสาธุการ ถ้าผู้นำของพวกเค้าได้มานั่งสมาธิของเรา และเอาไปเผยแพร่ให้พวกเค้า
    อีกทั้งถ้าในงานบุญใหญ่ ได้ฉาย DMC แล้วรวมพลให้พวกเค้าทุกคนนั่งสมาธิพร้อมๆกับเราด้วย
    โอ้..ขนลุกเลย ค่ะ

  40. ใครสร้างโลกว่ะ

  41. ดีมากๆได้ความรู้เยอะขึ้น

  42. มันมันสนุกๆประเทศนี้ดีกว่าประเทศไทย

  43. 5555555 นุกดี อ่านสิ่ฃ

  44. นุกมากค่ะ

  45. ขอบคุณมากค่ะ^^ กำลังหามาทำรายงานอยู่เลยค่ะ

  46. ทำรายงานส่งครูได้แล้ว

  47. เลวมากกกๆๆๆๆๆๆ

ส่งความเห็นที่ รัดดา ยกเลิกการตอบ